เผยเรื่องราว "เครื่องราชฯ จุลจอมเกล้า" สตรีได้รับเป็นคุณหญิง-ท่านผู้หญิง บุรุษสืบตระกูลได้
คอมเมนต์:
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยะมหาราช พระมหากษัตริย์ผู้ทรงพระปรีชา เป็นที่รักยิ่งของประชาชน ทรงนำประเทศชาติรอดพ้นจากการตกเป็นเมืองขึ้นของประเทศมหาอำนาจหลายครั้ง จนประเทศไทยเป็นประเทศเดียวในเอเซียเฉียงใต้ ที่รอดพ้นจากการเป็นเมืองขึ้น ทรงปรับปรุงประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าทัดเทียมอารยะประเทศ ทรงโปรดให้เลิกทาส ให้มีการรถไฟ การไปรษณีย์ การไฟฟ้าและการประปาขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศ
ถ้าจะให้พูดเรื่องพระราชกรณียกิจหรือพระปรีชาสามารถทางด้านต่างๆ ของพระองค์ ทุกคนก็อาจจะได้ยินกันมามากแล้ว เพราะฉะนั้นวันนี้ พันหมื่นเหตุผล จะขอพูดถึงเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ที่หลายคนอาจยังไม่รู้ หรือไม่ค่อยคุ้นหูคุ้นตากันมากนักมาเล่าต่อให้ได้ฟังกัน เนื่องจากเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าก็มีความสำคัญไม่น้อยเลย
Sponsored Ad
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า (อังกฤษ: The Most Illustrious Order of Chula Chom Klao) สถาปนาขึ้นโดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. 2416 ด้วยทรงเห็นว่าพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรีทรงอยู่ในราชสมบัติยั่งยืนนานมาเป็นเวลา 90 ปี ด้วยความสงบสุข จงรักภักดีและการปฏิบัติราชการของพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการทั้งปวง พระองค์จึงทรงพระกรุณาให้สร้างเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้านี้ขึ้นซึ่งเป็นพระนามของพระองค์ และให้แพรแถบสีชมพูอันเป็นสีของวันพระราชสมภพ คือวันอังคาร
Sponsored Ad
ทั้งมีพระราชประสงค์จะทรงชุบเลี้ยงบรรดาทายาทของบุคคลเหล่านี้ ให้มีความเจริญรุ่งเรืองในราชการสืบเนื่องต่อไป จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทายาทของผู้ได้รับพระราชทานสามารถรับพระราชทานตราสืบตระกูลของบิดาได้ โดยพระราชทานนามพระองค์ “จุลจอมเกล้า” เป็นนามของเครื่องราชอิสรยาภรณ์ตระกูลนี้ พร้อมทรงคิดคำขวัญจารึกบนดวงตราว่า “เราจะบำรุงตระกูลวงศ์ให้เจริญ”
Sponsored Ad
หลังจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จออกผนวชตามประเพณีเป็นระยะเวลา 15 วัน และทรงเสด็จกลับมา พระองค์มีพระราชดำริว่า นับแต่การสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ มีพระมหากษัตริย์ครองสิริราชสมบัติมาถึง 5 พระองค์นับระยะเวลารวมได้ประมาณ 90 ปี โดยไม่มีเหตุการแก่งแย่งชิงอำนาจจนเกิดศึกกลางพระนครเมื่อมีการผลัดแผ่นดินดังเช่นสมัยกรุงศรีอยุธยา และถึงแม้พระองค์จะทรงครองสิริราชสมบัติเมื่ออายุยังน้อย พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการทั้งปวงก็มิได้รังเกียจและยังคงรับสนองพระเดชพระคุณเหมือนเช่นที่ผ่านมา
Sponsored Ad
ซึ่งนับเป็นความดีความชอบพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการทั้งที่ล่วงลับไปแล้วและยังมีชีวิตอยู่ พระองค์จึงมีจิตคิดบำรุงวงศ์ตระกูลของท่านเหล่านี้ ดังนั้น พระองค์จึงทรงสถาปนาเครื่องราชอิสริยาภรณ์เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2416 โดยพระราชทานนามว่า “เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า” เพื่อเป็นเครื่องหมายแสดงอิสริยยศและเพื่อระลึกถึงความดีความชอบของท่านผู้ใหญ่ที่ได้รักษาแผ่นดินมาแต่ก่อนและผู้ที่ได้ทำนุบำรุงแผ่นดินในปัจจุบัน
เมื่อแรกสถาปนาเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้านั้นสามารถแบ่งได้ออกเป็น 3 ชั้น ได้แก่
Sponsored Ad
ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ปฐมจุลจอมเกล้า)
ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ, ทุติยจุลจอมเกล้า)
ชั้นที่ 3 ตติยาจุลจอมเกล้า (ตติยจุลจอมเกล้า , ตติยานุจุลจอมเกล้า) จะพระราชทานให้แก่พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการฝ่ายหน้าเท่านั้น
เมื่อปี พ.ศ. 2443 พระองค์มีพระราชดำริเห็นสมควรเพิ่มชั้นพิเศษสำหรับชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้าอีกชั้นหนึ่ง เพื่อให้เป็นเกียรติยศและประโยชน์แก่ผู้รับราชการยิ่งขึ้น เรียกว่า ปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษ และในปี พ.ศ. 2457 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าชั้นที่ 3 ขึ้นเป็นพิเศษ เรียกว่า ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ เพื่อพระราชทานแก่ข้าราชการฝ่ายหน้าเพิ่มขึ้นอีกชั้น
Sponsored Ad
(เรียงจากบนซ้ายไปขวาล่าง) ปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษ , ปฐมจุลจอมเกล้า , ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ , ทุติยจุลจอมเกล้า , ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ , ตติยจุลจอมเกล้า และตติยานุจุลจอมเกล้า (เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าสำหรับฝ่ายหน้า)
หลังจากนั้น ในปี พ.ศ. 2436 พระองค์พระราชดำริสมควรที่จะทรงสร้างเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายในขึ้น เพื่อให้สมาชิกผู้ได้รับพระราชทานได้ประดับตนเป็นที่แสดงเกียรติยศเพิ่มขึ้น โดยแบ่งออกเป็น 4 ชั้น ได้แก่ ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า ชั้นที่ 3 ตติยจุลจอมเกล้า และชั้นที่ 4 จตุตถจุลจอมเกล้า และเมื่อปี พ.ศ. 2442 ทรงพระราชดำริให้เพิ่มเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าสำหรับฝ่ายในในชั้นที่ 2 ขึ้นอีก 1 ชนิด เรียกว่า ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ เพื่อให้มีจำนวนชนิด 5 ชนิด (ในขณะนั้น) เช่นเดียวกับสำหรับพระราชทานฝ่ายหน้า
Sponsored Ad
(ภาพจาก Chalito's Rare Collection )
ข้อมูลจากสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ระบุว่า เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า มีการใช้คำนำนาม สตรีที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายในโดย
สตรีซึ่งสมรสแล้ว เมื่อได้รับพระราชทาน ป.จ., ท.จ.ว. ใช้คำนำนามว่า "ท่านผู้หญิง"
สตรีซึ่งสมรสแล้ว เมื่อได้รับพระราชทาน ท.จ., ต.จ., จ.จ. ใช้คำนำนามว่า "คุณหญิง"
สตรีที่ยังมิได้สมรส เมื่อได้รับพระราชทาน จ.จ. ขึ้นไป ใช้คำนำนามว่า "คุณ"
สตรีซึ่งเป็นเชื้อราชตระกูล ชั้นหม่อมเจ้า ใช้คำนำ พระนามตามเดิม ไม่ว่าจะได้รับพระราชทานชั้นใด สำหรับหม่อมราชวงศ์ และหม่อมหลวง เมื่อได้รับพระราชทาน ป.จ., ท.จ.ว. ใช้คำนำนามว่า "ท่านผู้หญิง " หากได้รับพระราชทาน ท.จ., ต.จ., จ.จ. ยังคงใช้ฐานันดรโดยไม่ใช้คำนำนามว่า "คุณหญิง"
ในปัจจุบันนี้แม้ทางการได้ยกเลิกบรรดาศักดิ์และราชทินนามแล้ว สตรีที่สามีไม่ได้มีบรรดาศักดิ์ ยังคงกำหนดให้ใช้คำนำหน้านามว่า " คุณหญิง " และ " ท่านผู้หญิง " ตามชั้นของเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าที่ได้รับพระราชทาน
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้านั้น แตกต่างจากเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลอื่นตรงที่สามารถมีการสืบตระกูลเครื่องราชอิสริยาภรณ์ได้ โดยถ้าเป็นบุตรสืบตระกูลบิดา จะได้รับพระราชทาน "ตติยจุลจอมเกล้า" แต่ถ้าเป็นหลานสืบตระกูลปู่ จะได้รับพระราชทาน "ตติยานุจุลจอมเกล้า" ลักษณะการสืบตระกูลเครื่องราชอิสริยาภรณ์
ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นปฐมจุลจอมเกล้า ฝ่ายใน แก่ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ และ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ และพระราชทาน เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษฝ่ายใน แก่ คุณพลอยไพลิน เจนเซน และคุณสิริกิติยา เจนเซน
ที่มา : wikipedia, khaosod