ดราม่า "รถไฟญี่ปุ่น" หลังบริจาคให้เมืองไทย 17 คัน ให้ฟรีแต่มีข้อแม้ จ่ายค่าขน 42.5 ล้าน ค่าซ่อม 272 ล้านเอาเอง
คอมเมนต์:
อีกหนึ่งประเด็น ที่หลายคนให้ความสนใจ หลังมีข่าวว่า ประเทศญี่ปุ่นได้ส่งมอบรถไฟที่ถูกปลดระวางแล้ว ให้กับการรถไฟแห่งประเทศไทย จำนวน 17 คัน จนเกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ตามมา
เมื่อไม่นานมานี้ ผู้จัดการออนไลน์ ได้รายงานว่า บริษัท JR Hokkaido ของญี่ปุ่น ส่งมอบรถไฟดีเซลมือ 2 ให้กับการรถไฟแห่งประเทศไทย จำนวน 17 คัน โดยไม่มีค่าใช้จ่าย แต่มีเงื่อนไขว่าต้องจ่ายค่าขนย้าย 42.5 ล้านบาทเอง
Sponsored Ad
โดยในวันที่ 15 ตุลาคม 2564 บริษัท ดอยโกร โพรเจค (ประเทศไทย) จำกัด จะดำเนินการขนย้ายรถดีเซล จากท่าเรือมุโระรัง ประเทศญี่ปุ่น มายังประเทศไทย โดยคาดว่าจะมาถึงไทยประมาณปลายเดือนตุลาคม
Sponsored Ad
การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้แจ้งอีกว่า มีหนังสือตอบรับการบริจาคตั้งแต่วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2564 แต่ติดปัญหาเรื่องการขนย้าย จึงล่าช้ามาจนปัจจุบัน โดยเมื่อ JR Hokkaido มาถึงเมืองไทย จะต้องดำเนินการปรับปรุงเครื่องยนต์ ลดขนาดความกว้างของล้อรถ
เนื่องจากขนาดรางรถไฟไม่เท่ากันและต้องปรับปรุงตัวรถให้สอดรับกับวัตถุประสงค์ในการใช้งาน โดยเบื้องต้นจะใช้เดินขบวนรถขนส่งผู้โดยสารและนำเที่ยว ซึ่งงบประมาณที่ใช้ในการปรับปรุงจะอยู่ที่ประมาณคันละ 16 ล้านบาท รวมเป็นเงินประมาณ 272 ล้านบาท และใช้เวลาประมาณ 1 ปี
Sponsored Ad
นอกจากนี้ การรถไฟแห่งประเทศไทย ยังชี้แจงอีกว่า แม้จะเป็นรถไฟ มือ 2 แต่สภาพยังดีอยู่ การใช้งานที่ผ่านมา น่าจะประมาณเกือบ 40 ปี ขณะที่อายุของรถไฟจะสามารถใช้งานได้ถึง 50 ปี
จากโพสต์ต้นฉบับ
Sponsored Ad
ด้านเพจ Thailand Transportation ก็ได้ออกมาโพสต์ว่า ตัวเองเพิ่งเคยนั่งรถไฟรุ่นนี้เมื่อปี พ.ศ. 2559 ซึ่งยังคงเป็นรถไฟที่มีสภาพดี แต่การที่ญี่ปุ่นบริจาคให้ไทยนั้นเพราะเขามีรุ่นใหม่มาแทนที่ ดังนั้นการที่ไทยได้รถไฟมือ 2 รุ่นนี้มาแบบฟรี ๆ โดยเสียเฉพาะค่าขนย้าย ซึ่งถือเป็นของดีราคาถูกมาก
หากการเทียบกับการซื้อมือ 1 ที่มีงบไม่ต่ำกว่าคันละ 30-40 ล้านบาท ซึ่งราคารวมอาจจะสูงถึง 510-560 ล้านบาท เรียกว่า ประหยัดได้เป็นร้อยๆล้านบาท ทางเพจยังระบุอีกว่า “ถ้าของดีราคาถูกแบบนี้ไม่ดีเหรอ... บางครั้งเราต้องมองในเชิงวิศวกรรมหรือเชิงช่างบ้างก็ได้ อย่ามองทุกเรื่องเป็นการเมืองเลยครับ”
จากโพสต์ต้นฉบับ
ที่มา : Thailand Transportation, ผู้จัดการออนไลน์