พนักงานที่ดีไม่ได้ออกจากงาน "เพราะเงินเดือน" แต่เพราะกฎระเบียบบริษัทที่โง่เขลาต่างหาก !

คอมเมนต์:

พนักงานที่ดีไม่ได้ออกจากงาน "เพราะเงินเดือน" แต่เพราะกฎระเบียบบริษัทที่โง่เขลาต่างหาก !

        ทำไมพนักงานที่ดีลาออกจากงาน ทำไมบริษัทถึงรักษาพนักงานที่ดีไว้ไม่ได้ สำหรับบริษัท การที่จะดึงดูดพนักงานธรรมดามันเป็นเรื่องที่ยากอยู่แล้ว และมันก็ยิ่งยากที่จะดึงดูดและรักษาพนักงานที่ดี พนักงานจะลาออกจากงานเพราะโอกาสและบริษัทที่ดีกว่า 

        แต่ส่วนใหญ่แล้ว สาเหตุที่พวกเขาลาออกจากงานเพราะปัญหาของบริษัท แต่ละบริษัทต่างมีกฎระเบียบและข้อบังคับเป็นของตัวเอง กฎระเบียบเหล่านี้ทำให้ผู้บริหารรู้สึกว่าทุกอย่างอยู่ภายใต้การควบคุมของตัวเอง

 

Sponsored Ad

 

        แต่กฎระเบียบเหล่านี้ได้ระงับความคิดสร้างสรรค์ของพนักงานและเปลี่ยนพนักงานที่ยอดเยี่ยมให้กลายเป็นพนักงานธรรมดา

        เมื่อพูดถึงการลาออกจากงาน เหตุผลที่ทุกคนคิดเป็นอันดับแรกคงเป็นเงินเดือน อย่างไรก็ตามเรารู้สึกว่าผู้คนจำนวนมากที่ได้ลาออกจากงาน ไม่ได้เป็นเพราะเงินเดือน แต่เป็นเพราะบริษัททำให้เขาน้อยใจและเสียใจต่างหาก

 

Sponsored Ad

 

        ลองคิดดู ฝ่ายบุคคลกว่าจะหาพนักงานที่เหมาะสมมาได้ และก็ต้องพยายามรักษาพนักงานที่ยอดเยี่ยมที่คิดจะลาออกจากงาน แค่คิดก็รู้สึกเหนื่อยใจแล้ว

        ดูเหมือนว่าการรักษาพนักงานที่ดีนั้นเป็นเรื่องยากจริงๆ แต่ที่จริงแล้วความผิดพลาดส่วนใหญ่ของผู้บริหารหลายคนนั้นสามารถหลีกเลี่ยงได้ แต่เมื่อผู้บริหารทำผิดพลาดพนักงานที่ดีมักจะเลือกลาออกจากงานก่อนเพราะพวกเขามีทางเลือกที่ดีกว่า

        หากบริษัทไม่สามารถทำให้พนักงานที่ดีตั้งใจทำงานอย่างเต็มที่ได้ พวกเขาก็ไม่สามารถรักษาพนักงานที่ดีเอาไว้ได้

 

Sponsored Ad

 

        การที่พนักงานที่ดีลาออกจากงานมันไม่ได้เกิดขึ้นทันที แต่เป็นเพราะว่าพวกเขาจะค่อยๆ หมดความสนใจในการทำงาน

        มีนักวิชาการต่างชาติได้ใช้เวลามาศึกษาปรากฏการณ์นี้ และตั้งชื่อให้ปรากฏการณ์นี้ว่า "การลดลงของพลังงาน" ความสนใจในงานของพนักงานที่ดีค่อยๆ ลดลงไปอย่างช้าๆ

        ปัญหา "การลดลงของพลังงาน" แตกต่างจากไฟดับ เนื่องจากพนักงานไม่ได้ตกอยู่ในช่วงวิกฤติที่ร้ายแรง พวกเขาดูเหมือนปกติดี ใช้เวลาในการทำงานมาก ร่วมมือทำงานกับคนอื่นให้เสร็จสิ้นและเข้าร่วมการประชุมต่างๆ แต่ในเวลาเดียวกัน ในใจของพวกเขากำลังทนกับความทุกข์จากการทำงานอยู่ เมื่อนานวันเข้า พวกเขาก็ต้องเลือกลาออกจากงานเท่านั้น

 

Sponsored Ad

 

        เพื่อป้องกันปัญหา "การลดลงของพลังงาน" และรักษาผู้มีความสามารถระดับสูงไว้ บริษัทและผู้บริหารควรตระหนักถึงว่าเพราะเหตุใดถึงทำให้ความกระตือรือร้นของพนักงานนั้นลดลงอย่างช้าๆ

ตั้งกฎระเบียบที่โง่ๆ

 

Sponsored Ad

 

        แน่นอนว่าบริษัทต้องการตั้งกฎระเบียบและข้อบังคับ แต่ไม่ควรตั้งมั่วและเลอะเทอะ ไม่ว่าจะเป็นระบบการคิดเงินเดือนที่เข้มงวดหรือการจ่ายค่าล่วงเวลาสำหรับพนักงาน หรืออาจเป็นกฎพิเศษบางประการมันอาจทำให้พนักงานทนไม่ไหวก็เป็นไปได้

หากพนักงานถูกผู้บริหารจับตาดูอยู่ตลอดเวลา ใครๆ ก็จะรู้สึกกดดันและอึดอัด จึงเลือกที่จะเปลี่ยนงาน

เวลาทำงาน

        สำหรับหลายๆ ตำแหน่งผู้บริหารที่ฉลาดไม่จำเป็นต้องบังคับให้พนักงานทำงานในบริษัทตลอดเวลาเพราะพนักงานเข้าใจงานมากกว่าผู้บริหาร พวกเขารู้ว่ากำลังทำอะไรอยู่ และที่ไหนเป็นสถานที่ที่เหมาะที่สุดสำหรับงานของตัวเอง

 

Sponsored Ad

 

        ในสัปดาห์นี้สำหรับพนักงานบางคน พวกเขาอาจจำเป็นต้องมีส่วนร่วมในการประชุมและแสดงความคิดเห็น แต่ในสัปดาห์หน้าถ้าเลือกทำงานที่บ้านอาจมีประสิทธิภาพมากกว่า เพราะพวกเขาสามารถสื่อสารกับเพื่อนร่วมงานผ่านทางโทรศัพท์หรืออีเมล์ได้ ในส่วนพนักงานที่ไม่เข้าร่วมประชุมและไม่ก่อให้เกิดประโยชน์กับบริษัทคาดว่าคงไม่ผ่านช่วงทดลองงานของบริษัทตั้งแต่แรกอยู่แล้ว

ปฏิบัติกับพนักงานเท่ากันหมด

        วิธีการปฏิบัติกับพนักงานอย่างเท่าเทียมกันมันเหมาะใช้ในโรงเรียน แต่ไม่เหมาะสำหรับใช้ในสถานที่ทำงาน

Sponsored Ad

        สำหรับพนักงานที่ดี ไม่ว่าพวกเขาจะดีแค่ไหน รายได้ที่ได้จากบริษัทก็เหมือนกับพนักงานทั่วไป

ขั้นตอนการรออนุมัติ

        ถามตัวเองว่า หากงานทั้งหมดของคุณต้องรอรับการอนุมัติจากผู้อื่นก่อนถึงจะเริ่มทำได้ งานของคุณจะมีประสิทธิภาพหรือไม่ กฎที่เข้มงวดเช่นนี้จะทำให้เสียเวลาและงานล้มเหลวอย่างแน่นอน

        คุณยอมให้พนักงานใช้เวลาส่วนใหญ่ในการรอการอนุมัติหรือ

        หากเป็นโครงการใหญ่หรือโครงการใหม่ที่สำคัญสำหรับบริษัท การรอการอนุมัติเป็นสิ่งที่ควรทำอยู่แล้ว แต่สำหรับงานทั่วไปก็ต้องขออนุมัติก่อน มันไร้สาระและเสียเวลาจริงๆ

        กระบวนการทำงานที่เข้มงวดแบบนี้จะทำให้งานมีประสิทธิภาพน้อยลง เสียเงินเปล่าๆ และทำให้พนักงานรู้สึกว่า ระดับผู้บริหารไม่เชื่อใจในการตัดสินใจของพวกเขา

การพูดคุยกับพนักงานและมีส่วนร่วมในงานของพวกเขา

        การสำรวจออนไลน์นั้นมันรวดเร็ว แต่เชื่อเถอะคุณไม่ได้รับการตอบสนองที่แท้จริงจากพนักงาน หากอยากจะเข้าใจสภาพที่เป็นอยู่ของพนักงาน วิธีที่ดีที่สุดก็คือ การพูดคุยอย่างตรงไปตรงมากับพวกเขาและมีส่วนร่วมในงานของพวกเขา

        ความสัมพันธ์ไม่ดี ไม่สนใจพนักงาน

เกี่ยวกับวันหยุดพักผ่อน

        หากพนักงานคนหนึ่งกำลังป่วยหนัก การที่บังคับให้เขาไปเอาใบรับรองแพทย์ที่โรงพยาบาลมายื่นให้บริษัทเพื่อเป็นหลักฐาน มันเป็นเรื่องไร้มนุษยธรรม

        พนักงานควรได้รับสิทธิประโยชน์ประเภทนี้จากบริษัท: เมื่อป่วยพวกเขาสามารถพักผ่อนอยู่ในบ้านจนกว่าพวกเขาจะหายดี (เพื่อป้องกันเชื้อโรคไม่ให้มาติดกับพนักงานคนอื่น) แล้วค่อยกลับไปทำงาน

        หากพนักงานต้องการวันหยุดส่วนตัวสักวันหนึ่ง อย่าบังคับให้พนักงานโกหกและไปขอใบรับรองแพทย์ ควรเคารพพนักงานของคุณและเชื่อว่าพวกเขาจะเคารพเวลาของตัวเขาเอง และจะขยันทำงานเพื่อให้งานสำเร็จ

        ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดควรให้อิสระแก่พนักงานในการลา การบังคับให้พนักงานแสดงหลักฐานทางโรงพยาบาล มันแสดงให้เห็นว่าคุณไม่ไว้วางใจพนักงานของคุณเลย

ข้อเสนอแนะของพนักงาน

        บริษัทมากมายชอบทำการสำรวจกับพนักงานตัวเอง แต่ขอบอกได้เลยผลสำรวจที่ได้ส่วนใหญ่ไม่ถูกต้อง

        หากคุณต้องการทราบสถานการณ์ของพนักงานของคุณ แนะนำไปทำการตรวจสอบและสื่อสารกับพนักงานของคุณโดยตรง ไปคุยกับพนักงานและมีส่วนร่วมในกิจกรรมของพนักงานจะได้ผลดีกว่า

        ทำการสำรวจออนไลน์ ผลที่ได้จะไม่ดีตามที่คุณคาดหวังไว้อย่างแน่นอน วิธีที่ดีที่สุดในการทำความเข้าใจสถานะการทำงานและความคิดเห็นของพนักงานก็คือ พูดคุยกับพนักงานโดยตรง

        หากคุณไม่สามารถคุยกันกับพนักงานได้บริษัทจะประสบปัญหาใหญ่อย่างแน่นอน สิ่งที่คุณต้องทำอย่างแรกคือยกเลิกการทำสำรวจออนไลน์และพูดคุยกับพนักงานโดยตรง สองคือให้โอกาสพนักงานแสดงความคิดเห็นของพวกเขา

จำกัดการใช้โทรศัพท์

        มีบางบริษัทจำเป็นต้องตรวจสอบโทรศัพท์ของพนักงานก่อนเข้าบริษัท เพื่อป้องกันไม่ให้ข้อมูลสำคัญของบริษัทถูกขโมย นี่คือการแสดงออกของการขาดความไว้วางใจในตัวพนักงาน พนักงานพกโทรศัพท์ไว้กับตัวก็เพื่อความสะดวกในการติดต่อและสื่อสารเท่านั้นทำไมไม่เลือกไว้วางใจพนักงานของตัวเองบ้าง

กฎระเบียบการทดลองงาน

        หลายบริษัทยังคงมีกฎเกณฑ์ว่า พนักงานต้องทำการทดลองงานเป็นเวลาหกเดือนถึงจะผ่านงานหรือเลื่อนตำแหน่งได้

        กฎเกณฑ์ข้อนี้อาจเหมาะกับสภาพแวดล้อมแรงงานในสมัยก่อน ในสมัยนั้นงานหายากใครๆ ก็ต้องปฏิบัติตามกฎนี้

        แต่สภาพแวดล้อมทุกวันนี้ หากพนักงานไม่พอใจกับกฎการทดลองหกเดือนพวกเขาอาจจะไม่เลือกงานนี้ก็ได้

        หากบริษัทของคุณเป็นบริษัทที่มีกฎระเบียบอย่างเข้มงวดและเป็นกฎระเบียบที่โง่ๆ คุณเริ่มคิดได้แล้วว่า ลาออกจากงานแล้วไปหางานใหม่ทำจะดีกว่ามั้ย

แปลและเรียบเรียงโดย พันหมื่นเหตุผล

บทความที่คุณอาจสนใจ