เปิดประวัติ "บ้านพิษณุโลก" บ้านประจำตำแหน่งนายกฯ ที่อยู่ได้ไม่กี่วันก็ต้องย้ายออก

คอมเมนต์:

อาถรรพ์ บ้านพิษณุโลก บ้านพักรับรองสำหรับนายกฯ แต่ไม่มีใครกล้าอยู่ แต่บิ๊กตู่กำลังจะย้ายเข้า

    เปิดประวัติ บ้านพิษณุโลก เรือนรับรองสำหรับ นายกฯ ที่เต็มไปด้วยเรื่องเล่าสุดลี้ลับ นายกฯ ไทยส่วนใหญ่อยู่ได้ไม่กี่วัน จนทำให้หลายคนอยากรู้ว่าที่นี่มีประวัติความเป็นมาและมีความอาถรรพ์อย่างไร  

    เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา เฟซบุ๊ก โบราณนานมา ได้เผยประวัติของบ้านพิษณุโลก ว่า บ้านพิษณุโลก หรือชื่อเดิมคือ บ้านบรรทมสินธุ์ เป็นบ้านแบบสถาปัตยกรรมโกธิกเวเนเทียน ออกแบบและสร้างโดย มาริโอ ตามานโญ สถาปนิกชาวอิตาลี คนเดียวกันกับที่ออกแบบพระที่นั่งอนันตสมาคม และทำเนียบรัฐบาล เป็นบ้านพักประจำตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และเรือนรับรองแขกสำคัญของรัฐบาลไทย บ้านรับรองถือเป็นหน้าตาประเทศ 

 

Sponsored Ad

 

    แต่บ้านพิษณุโลกนี้เมื่อพลิกดูประวัติศาสตร์ทางการเมืองกลับไม่ค่อยมีนายกรัฐมนตรีคนใดเข้าพำนัก โดยรัชกาลที่ 6 โปรดเกล้าฯ ให้ปลูกสร้างขึ้นโดยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ แล้วพระราชทานให้กับพระยาอนิรุทธเทวา น้องชายเจ้าพระยารามราฆพ เจ้าของบ้านนรสิงห์ ปัจจุบันคือ ทำเนียบรัฐบาล

 

Sponsored Ad

 

    เมื่อถึงรัชกาลที่ 7 ตระกูลอนิรุทธเทวา ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจตกต่ำ พระยาอนิรุทธเทวาจึงได้ทูลเกล้าฯ ถวาย บ้านบรรทมสินธุ์ เพื่อให้เป็นราชสมบัติ เนื่องจากเกินกำลังที่จะบำรุงรักษาได้ จึงได้รับการปฏิเสธ พระยาอนิรุทธเทวาและครอบครัวได้ย้ายออกไปอยู่จังหวัดนนทบุรี และไม่ได้มีการใช้งานบ้านบรรทมสินธุ์แต่อย่างใด

    มาถึงสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม รัฐบาลได้ติดต่อพระยาอนิรุทธเทวาเพื่อขอซื้อหรือเช่าบ้านบรรทมสินธุ์ เพื่อไม่ให้ญี่ปุ่นซื้อไปเป็นสถานทูต พระยาอนิรุทธเทวาได้ตกลงแบ่งขายที่ดินและตึกจำนวน 25 ไร่ ในราคา 5 แสนบาท เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2485 รัฐบาลได้ใช้บ้านบรรทมสินธุ์เป็นที่ทำการของ "กรมประสานงานไทย-ญี่ปุ่น" สำหรับการประสานงานระหว่างสองประเทศ และเปลี่ยนชื่อเป็น "บ้านไทย-พันธมิตร"

 

Sponsored Ad

 

    กระทั่งญี่ปุ่นแพ้สงครามจึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น บ้านสันติภาพ และเมื่อปี 2496 จอมพล ป. พิบูลสงคราม มีมติให้เปลี่ยนชื่อบ้านเป็น บ้านพิษณุโลก ตามชื่อถนน

    ต่อมา รัฐบาล พล.อ. เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ได้ทำการบูรณะ แต่หลังจากซ่อมแซมอยู่นาน คนที่ได้เข้ามาอยู่กลับเป็น พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี แต่ปรากฏว่าพำนักอาศัยได้เพียง 2 คืน จากนั้นก็กลับไปนอนที่บ้านสี่เสาเทเวศร์ตามเดิม ทำให้เสียงร่ำลือยิ่งหนาหูมากขึ้นว่า ผีดุจนเป็นเหตุให้ พล.. เปรม ติณสูลานนท์ ต้องย้ายออกไป         

 

Sponsored Ad

 

    โดยที่ผ่านมามีเพียง นายชวน หลีกภัย ที่สามารถเข้าพักที่บ้านพิษณุโลกได้นาน โดยนายชวนได้พักอาศัยอยู่ทั้ง 2 สมัยการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยได้ใช้โซฟาในห้องทำงานซึ่งอยู่ด้านหน้าห้องนอนเป็นที่นอน โดยไม่ได้มีการใช้เตียงนอนภายในห้องนอนของบ้าน เนื่องจากเป็นการให้เกียรติเจ้าของบ้าน

 

Sponsored Ad

 

    จนเป็นที่สงสัยกันว่า เหตุใด นายชวน หลีกภัย จึงสามารถพำนักอยู่ในบ้านหลังนี้ได้นานกว่านายกรัฐมนตรีคนอื่น ๆ และหลังจากนายชวน หลีกภัย แล้ว ก็ไม่มีนายกรัฐมนตรีคนใดใช้บ้านหลังนี้เป็นที่พำนักถึงปัจจุบัน มีเพียงแต่ใช้เป็นที่ประชุมและรับแขกเท่านั้น

    สำหรับเรื่องอาถรรพ์ของบ้านนั้นส่วนมากจะมาจากผู้ที่เป็นนายกรัฐมนตรี และผู้ใกล้ชิด ที่พบเจอ และบอกว่า เจ้าที่แรง อยู่ไม่ได้ นอกจากนี้ผู้ที่อยู่ในละแวกนั้นต่างเล่าว่า วันดีคืนดีก็จะได้ยินเสียงม้าร้องกึกกัก ดังมาจากบริเวณรูปปั้นม้าหน้าบ้าน

 

Sponsored Ad

 

    อีกเรื่องเล่าหนึ่งที่ได้รับความสนใจของผู้คนจำนวนมากคือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นสมัยนายกฯ ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน ภริยา ได้นำคนเข้ามาทำความสะอาดบ้านพิษณุโลก แต่ระหว่างที่กำลังปัดกวาดเช็ดถูอยู่นั้น คนงานหญิงคนหนึ่งก็พลันล้มตัวลงนั่งถูพื้น แม้คนอื่นจะย้ายไปจุดอื่นแล้ว แต่เธอยังคงนั่งถูพื้นต่อ ใครเรียกก็ไม่ตอบ และพลางบ่นพึมพำสุ้มเสียงแปลกประหลาดคล้ายคนชราว่า "อะไร ๆ ก็รกหูรกตาไปเสียหมด อะไร ๆ ก็สกปรก ไม่ยอมทำความสะอาดกันเลย" จนเริ่มสร้างความประหลาดใจให้กับคนรอบข้าง 

Sponsored Ad

    โดยคุณหญิงพจมานได้พยายามเรียกชื่อหญิงสาวอยู่นาน แต่ไม่ได้รับการตอบรับ จนสุดท้ายต้องนำลูกประคำมา และป้อนน้ำมนต์ให้กิน หญิงสาวรายดังกล่าวจึงเริ่มกลับมาเป็นปกติอีกครั้ง โดยเธอได้บอกกับคนอื่นว่าระหว่างนั้นรู้ตัวตลอด แต่ไม่สามารถควบคุมร่างกายตัวเองได้

    นอกจากนี้ยังมีเรื่องราวที่เกิดขึ้นสมัยนายบรรหาร ศิลปอาชา ได้ใช้บ้านพิษณุโลกในการประชุมสมาชิกพรรค แล้วในระหว่างที่กำลังประชุมอยู่นั้น นายพวงเล็ก บุญเชียง ส.ส. ของพรรค ได้ลุกขึ้นยืนก่อนจะกราดนิ้วชี้ไปยังใบหน้าเพื่อนพ้องน้องพี่ทั้งหลาย และตะโกนถามว่า "พวกแกมาทำอะไรกันที่นี่ !"

    โดยเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นเรื่องเล่าต่อ ๆ กันมาจากนักข่าวรุ่นสู่รุ่น ก่อนกระจายเรื่องเล่าออกไปสู่ผู้คนภายนอก จนทำให้ประชาชนต่างพากันร่ำลือถือความอาถรรพ์ของบ้านพิษณุโลก ซึ่งแท้จริงแล้วควรเป็นบ้านที่ ผู้นำของประเทศ ควรใช้เป็นบ้านพักผ่อน แต่สุดท้ายความน่ากลัวนี้กลับไม่อาจจะทำให้ใครสามารถอยู่ได้

.

.

ที่มา : เพจโบราณนานม

บทความที่คุณอาจสนใจ