รู้จัก นานายา มาฮูทา รัฐมนตรีหญิงของนิวซีแลนด์ ที่มีพื้นเพจากชาวเผ่าเมารีเผ่าพื้นเมือง

คอมเมนต์:

"การเป็นชาวเผ่าของฉันนั้นไม่ได้ถูกตีกรอบความสามารถ เพราะคนชนเผ่าก็สามารถเข้ามาบริหารประเทศได้ไม่ต่างกับคนทั่วไป” -รัฐมนตรีนิวซีแลนด์ -

    วันนี้เราจะพาไปทุกคนไปรู้จักกับ นานายา มาฮูทา ที่เป็นรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของนิวซีแลนด์ ซึ่งที่ทำให้ผู้คนฮือฮามากๆ เพราะว่า เธอมีรอยสักอยู่บนปลายคางนั่นเอง 

    รัฐสภานิวซีแลนด์เป็นดินแดนแห่งความหลากหลายมากที่สุดในโลก มีนายกรัฐมนตรีหญิงเป็นผู้บริหารประเทศ รองนายกรัฐมนตรีเองก็ได้เปิดเผยตัวตนว่าเขาเป็นเกย์ และล่าสุด รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ ที่เป็นชาวเผ่าพื้นเมือง

 

Sponsored Ad

 

    มาฮูทา ได้บอกว่า รอยสักของเธอนั้นเป็นหนึ่งในวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของชนเผ่าเมารี โดยผู้หญิงจะสักที่ปลายคาง และผู้ชายจะสักทั่วทั้งใบหน้า ซึ่งสัญลักษณ์ที่ดูน่าสนใจบนใบหน้าและร่างกายนี้ยังสามารถบอกเล่าเรื่องราวและตำนานของครอบครัว ประวัติศาสตร์และสถานะทางสังคมได้อีกด้วย

 

Sponsored Ad

 

    เธอเข้าสู่รัฐสภาของนิวซีแลนด์ครั้งแรกในปี 1996 เธอมีผลงานก่อนหน้านี้มากมาย รวมถึงรวมถึงเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการปกครองท้องถิ่นและการพัฒนาเมารี

    โดยในปี 2016 เธอมีส่วนร่วมในการออกแบบรอยสักแบบโมะโกะ (Moko) นักรบชาวเมารีและยังเป็นผู้หญิงคนแรกที่สวมชุดพื้นเมืองโมโกะคาเอในรัฐสภาด้วย

    เธอได้บอกว่า “เวลาที่พบกับผู้คนนานาชาติในครั้งแรก พวกเขามักจะพูดถึงหน้าตาและเสียงของฉันเสมอ”

 

Sponsored Ad

 

    แต่เธอก็ได้ตอบกลับไปว่า...“ฉันเป็นชาวพื้นเมืองที่ได้รับการยอมรับจากคนทั้งประเทศ การเป็นชาวเผ่าของฉันนั้นไม่ได้ถูกตีกรอบความสามารถ เพราะคนชนเผ่าก็สามารถเข้ามาบริหารประเทศได้ไม่ต่างกับคนทั่วไป”

    เห็นไหมคะว่า การทำงาน ความสามารถ ความคิด ทัศนคติเป็นสิ่งที่ทุกคนมีอยู่ในตัวเองด้วยกันทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นผู้ชายหรือผู้หญิง ไม่ว่าจะมาจากส่วนไหนของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นคนเมือง ชาวบ้าน หรือชาวชนเผ่าก็สามารถขึ้นมาบริหารประเทศได้อย่างดี จนประเทศชาติพัฒนาไปไกล...

 

Sponsored Ad

 

    ด้านนายกหญิงของประเทศได้บอกว่า เธอนั้นภูมิใจกับความหลากหลายของคณะรัฐมนตรี 20 คน ซึ่งเป็นผู้หญิง 8 คน ชาวเมารี 5 คน  LGBT 3 คน ชาวแปซิฟิกา 3 คน  แต่อาร์เดิร์นก็ยืนยันว่า เธอเลือกจากความสามารถ “หนึ่งในสิ่งที่น่ามหัศจรรย์ของนิวซีแลนด์ก็คือ เรามักจะอยู่ในพื้นที่ซึ่งคำถามเกี่ยวกับความหลากหลายมาเป็นลำดับที่ 2 เรื่องนี้ไม่ใช่สิ่งแรกในการพิจารณา”


ที่มา : CNN ,Teaomaori, Leelawadee holiday

บทความที่คุณอาจสนใจ