ย้อนศึกชิง "มรดก 1.2 หมื่นล้าน" ราชสกุลรังสิต ของไทย ฟ้องย่าแท้ๆ ตัวเอง ผู้เป็นมหารานีอินเดีย

คอมเมนต์:

เลือดข้นคนจางฉบับอินเดีย! ย้อนจุดเริ่มต้น "ราชสกุลไทย" ชนะคดี "มรดก 1.2 หมื่นล้าน" ของมหารานีแห่งอินเดีย

หมายเหตุ : สามารถรับชมคลิปที่เกี่ยวข้องได้ที่ด้านล่างบทความค่ะ

    นี่คือเรื่องราวสุดมหากาพย์ กับการต่อสู้เพื่อให้ได้สิทธิในมรดกหมื่นล้านของราชสกุลแห่งอินเดีย! ก่อนที่คนไทยจะมีละครกระชากเรตติ้งอย่าง "เลือดข้นคนจาง" แต่ในอีกมุมหนึ่งแล้ว การแย่งชิงมรดกก็เกิดขึ้นในชีวิตของมนุษย์ทั่วไปมาช้านาน

    สำหรับข่าวที่ทำเอาคนทั่วโลกตกตะลึง เมื่อวันที่26 กันยายน 3 ปีก่อน ได้เกิดคดีบันลือโลก ที่ 2 ทายาทสกุลรังสิต "เทพราช-ลลิตยา" ชนะคดีที่ฟ้องเรียกสมบัติคืนจากมหารานี ผู้เป็น "ย่า" ได้กว่าหมื่นล้าน!

 

Sponsored Ad

 

จากซ้าย ม.ร.ว.ปรียนันทนา รังสิต  ลลิตยา รังสิต (ราชกุมารี ลลิตยากุมารี สิงห์ แห่งแคว้นชัยปุระ) และเทพราช รังสิต (ราชกุมาร เทพราช สิงห์ แห่งแคว้นชัยปุระ) 

ภาพจาก ไทยรัฐ https://www.thairath.co.th/content/527986

 

Sponsored Ad

 

    สำหรับรายละเอียดของเรื่องราวคดีนี้ มีคำตัดสินไปในวันที่ 25 ก.ย. 2558 ก่อนที่ทั่วโลกจะพากันตีข่าวนี้ ในวันรุ่งขึ้นอย่างครึกโครม

    คดีฟ้องร้องเรื่องทรัพย์สินมรดก โดยราชนิกุลสูงศักดิ์ของไทยนั้น เป็นการต่อสู้เพื่อให้ได้มาในสิทธิในมรดกหมื่นล้านของ "อดีตมหาราชาอินเดีย" หรือ มหาราชจกัต ซิงห์ แห่งราชวงศ์ชัยปุระ ในรัฐราชสถานของอินเดีย (ซึ่งสิ้นพระชนม์ไปเมื่อปี 2540) ผู้เป็นอดีตพระสวามี ของ ม.ร.ว.ปรียนันทนา รังสิต โดยเทพราช และ ลลิตยา (บุตรชายและบุตรสาวของ ม.ร.ว.ปรียนันทนา รังสิต กับ มหาราชจกัต ซิงห์) ผู้เป็น "หลานย่า" ของ มหารานี คยาตรี เทวี พระชายาองค์ที่ 3 ในมหาราชาสวัย มัน ซิงห์ ที่ 2 แห่งราชวงศ์ชัยปุระ ได้ทำการฟ้องคัดค้าน การเขียนพินัยกรรมมอบสิทธิในการจัดการสมบัติของ มหาราชจกัต ซิงห์ ให้แก่คณะกรรมการบริหารบริษัทราม-บักห์ พาเลซ โฮเต็ล พีวีที จำกัด รวมถึงบริษัทอื่นๆ รับหน้าที่บริหารจัดการทรัพย์สมบัติที่สืบทอดมาจากมหาราชาสวัย มัน ซิงห์ ที่ 2

 

Sponsored Ad

 

     ม.ร.ว.ปรียนันทนา รังสิต ภาพจาก https://www.isranews.org/isranews-scoop/41652-nacc_1339.html

    ดังนั้น เทพราช และ ลลิตยา จึงยื่นฟ้องร่วมกัน โดยระบุว่า มหารานี คยาตรี เทวี ทรงทำพินัยกรรมในขณะที่ทรงมีพระชนมายุมาก ทั้งยังมีสุขภาพอ่อนแอ จนส่งผลกระทบต่อความสามารถในการพูด จึงอาจถูกแทรกแซง โดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรายอื่นๆ ทั้งนี้ พระองค์ได้สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 29 ก.ค.2552 ขณะมีพระชนมายุ 90 พรรษา

    และที่สุด คดีที่มีมายาวนานถึง 9 ปี ตั้งแต่ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ มาจนถึงศาลฎีกาของอินเดีย จึงได้ตัดสินให้หลานย่าทั้งสอง ผู้เป็นทายาทโดยตรง ของมหาราชจกัต ซิงห์ กับอดีตพระชายาราชนิกุลไทย ม.ร.ว.ปรียนันทนา รังสิต ได้รับชัยชนะในการยื่นคัดค้านครั้งนี้

 

Sponsored Ad

 

    เทพราช และ ลลิตยา มีสิทธิ์ในสมบัติของมหาราชจกัต ซิงห์ รวมถึงส่วนแบ่งในพระราชวังชัย มาฮาล และพระราชวังรามบักห์ ในเมืองชัยปุระถูกดัดแปลงเป็นกิจการโรงแรมหรูในปัจจุบัน ตลอดจนกิจการอื่น คิดเป็นมูลค่ารวมประมาณ 200-400 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 7,000-14,000 ล้านบาท!

    ด้านสำนักข่าวเอเอฟพี รายงานอ้างอิงคำให้สัมภาษณ์ของ 2 ทายาทลูกครึ่งไทยอินเดียว่า ช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา ทั้งตนและน้องสาว เพียงแต่ต้องการทวงถามถึงส่วนแบ่งในกิจการของตระกูลซึ่งเป็นสิทธิอันชอบธรรมของมหาราชจกัต ซิงห์ ผู้เป็นบิดา แต่ไม่เคยเรียกร้องอะไรนอกเหนือไปจากนั้น ในที่สุดได้มีโอกาสก้าวเข้าไปมีส่วนร่วมในการปฏิบัติหน้าที่ต่างๆ ที่มีต่อผืนแผ่นดินของบรรพบุรุษได้

 

Sponsored Ad

 

    อย่างไรก็ดี นอกเหนือจากเรื่องราวทางคดีอันซับซ้อน ที่จบลงไปแล้ว ฉากหลังของผู้คนในเรื่อง ยังเปรียบเหมือนตัวละครที่ทำให้คนทั่วโลกเกาะติด ไม่ว่าจะเป็น "มหารานี คยาตรี เทวี" ผู้เป็นเสด็จย่าของ เทพราช และ ลลิตยา และแม้แต่ในส่วนของ ม.ร.ว.ปรียนันทนา รังสิต ผู้หญิงแกร่งทั้งสองท่านนี้ ล้วนแล้วแต่มีความน่าสนใจในฉากชีวิตไม่ต่างกัน!

    สำหรับ มหารานี คยาตรี เทวี นั้นเคยได้รับการขนานนามว่าเป็นหนึ่งใน 10 สตรีที่สวยที่สุดในโลก โดยการจัดอันดับของนิตยสาร VOGUE สื่อด้านแฟชั่นและความงามในโลกตะวันตก

 

Sponsored Ad

 


มหารานี คยาตรี เทวี ในวัยสาว ภาพจาก https://pantip.com/topic/32256562

    หากเจ้าหญิงไดอาน่าคือกุหลาบฝั่งอังกฤษ ฝั่งอินเดียก็คงมี "มหารานี คยาตรี เทวี" ผู้เลอโฉมผู้นี้เอง ที่คนทั่วโลกจับตามอง

Sponsored Ad

    จริงอยู่ที่ อินเดียได้รับเอกราชจากอังกฤษเมื่อปี 2490 และการปกครองในระบอบกษัตริย์และมหาราชาผู้ครองแคว้นต่างๆในอินเดียจะถูกยกเลิกไปแล้ว และ มหารานี คยาตรี เทวี จึงมีพระยศก่อนสิ้นพระชนม์คือราชมาตา หรือพระมารดาของมหาราชาพระองค์สุดท้าย แห่งราชอาณาจักรไจปูร์ (ชัยปุระ) ดินแดนทะเลทราย ทางภาคตะวันตกของอินเดีย ปัจจุบันเป็นเมืองเอกรัฐราชาสถาน แต่แม้จะเป็นเช่นนั้น พระนางก็ยังคงมีชีวิตที่ไม่ต่างจากควีน ที่แวดล้อมไปด้วยทรัพย์สฤงคารและการใช้ชีวิตอย่างหรูหราฟู่ฟ่า เป็นที่กล่าวขวัญถึงในแวดวงสังคมระดับโลก

     มหารานี คยาตรี เทวี ในวัยสาว ภาพจาก https://en.wikipedia.org/wiki/Gayatri_Devi

    ทรงเคยเป็นนักการเมืองหญิงคนสำคัญคนหนึ่งของอินเดีย ที่มีคุณูปการไม่แพ้ผู้รักชาติคนไหนๆ เพราะได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอินเดียในปี 2502 และได้รับเลือกตั้งกลับมาดำรงตำแหน่งอีก 2 สมัยซ้อนด้วย นอกจากนี้ มหารานี คยาตรี เทวี ยังได้รับการยกย่องว่า เป็นผู้เคลื่อนไหวเพื่อสนับสนุนสิทธิสตรีด้วยการก่อตั้งโรงเรียนสตรีในแคว้นชัยปุระ

    ข้อมูลระบุว่าพระนางประสูติเมื่อวันที่ 23 พ.ค.2462 ที่ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ในปี 1919 เป็นพระธิดาของเจ้าชายแห่งราชวงศ์ Cooch Behar พระนางเคยพระราชทานสัมภาษณ์หนังสือพิมพ์เดอะไทม์ออฟอินเดีย ว่าวัยเยาว์ทรงเป็นเด็กหญิงแก่นแก้วทรงโปรดการล่าสัตว์ ขี่ช้าง ขี้ม้า เล่นเทนนิส โปโล ทรงรักการเดินทางผจญภัย มิหนำยังทรงเป็นหญิงนักแม่นปืนชนิดหาตัวจับยาก แต่ก็ทรงเป็นเจ้าหญิงเลอโฉมจนเป็นที่สนใจของสื่อมวลชน

     มหารานี คยาตรี เทวี ในวัยสาว ภาพจาก https://pantip.com/topic/32256562

    ต่อมาในวัยเพียง 20 พระชันษา เจ้าหญิงได้อภิเษกกับ มหาราชาสวาอัย มัน ซิงห์ เจ้าชายนักกีฬาโปโลแห่งชัยปุระที่ทรงมีพระชายาอยู่แล้วถึง 2 องค์ แต่ที่ทรงโดดเด่นมากกว่ารานีองค์ไหน เพราะพระองค์ทรงจัดเต็มในเรื่องการแต่งกาย เครื่องประดับที่หรูหราที่สุด! จนทรงถูกนำมาเปรียบเทียบกับอดีตสุภาพสตรีหมายเลข 1 สหรัฐอย่าง แจ็กเกอลีน เคนเนดี อยู่เนืองๆ ในเรื่องรสนิยมการแต่งกายอันทันสมัยและดูดี ทรงเป็นแฟชั่นไอคอนของอินเดีย และเป็นที่จับตามองของสื่อมวลชนทั่วโลก!

.

     มหารานี คยาตรี เทวี ในวัยสาว ภาพจาก https://pantip.com/topic/32256562

    จนเมื่อหมดสมัยของพระสวามี มหาราชาสวาอัย มันซิงห์ มหารานี คยาตรี เทวี ก็ได้เลื่อนพระยศเป็นราชมาตา โอรสองค์เดียว จกัตซิงห์ ซึ่งต่อมา ทรงพบรักและได้อภิเษกกับ ม.ร.ว.ปรียนันทนา รังสิต พระธิดาองค์เล็กในพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต-ม.จ.ปิยะรังสิต รังสิต ราชนิกูลคนดังของบ้านเรา นั่นเอง

    อย่างไรก็ดีภายหลัง ทรงประชวร โดยมีปัญหาในช่องท้องและระบบทางเดินหายใจ ที่สุด ราชมาตา มหารานี คยาตรี เทวี ก็สิ้นพระชนม์ลงอย่างสงบเมื่อวัน 29 ก.ค. 2552 วัย 90 ชันษา หลังรักษาพระอาการอยู่นานถึง 10 วันที่โรงพยาบาล

    สำหรับ ม.ร.ว.ปรียนันทนา รังสิต ก็มีชีวิตที่น่าสนใจไม่น้อย กล่าวคือไม่เพียงการที่ต้องข้ามน้ำข้ามทะเลไปใช้ชีวิตกับพระสวามี มหาราช จกัต ซิงห์ ไกลถึงอินเดีย แต่เธอยังเป็นพระมารดา ของ พระนัดดาแท้ๆ ลูกครึ่งอินเดีย-ไทย 2 คน ของมหารานี คยาตรี เทวี  หลานของมหารานีผู้ยิ่งใหญ่อีกด้วย 

    หม่อมราชวงศ์ปรียนันทนา รังสิต เกิดเมื่อ วันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2495 เป็นธิดาคนเล็กของหม่อมเจ้าปิยะรังสิต รังสิต และ พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต และยังเป็นเหลนของล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 ม.ร.ว.ปรียนันทนา สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีด้านภาษาสันสกฤต ประวัติศาสตร์อินเดีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ School of Oriental and African Studies มหาวิทยาลัยลอนดอน

    ทั้งนี้ เมื่อครั้งมหารานี คยาตรี เทวี ได้เสด็จมาเที่ยวเมืองไทย ก็ได้ทรงรู้จักกับ ม.จ. ปิยะรังสิต รังสิต และพระองค์เจ้าวิภาวดี พระบิดาและพระมารดา จนเมื่อ "มหาราชจกัต ซิงห์" พระโอรสของ มหารานี คยาตรี เทวี ได้ทรงไปศึกษาต่อในประเทศอังกฤษ ก็ได้ทรงรู้จักกับ "ม.ร.ว.ปรียนันทนา รังสิต" อีกครั้ง..และสานต่อความสัมพันธ์จนได้ตกลงแต่งงานกันในที่สุด..

    ว่ากันว่า งานแต่งงานที่อังกฤษ พระราชินีอลิซาเบ็ธที่ 2 ได้เสด็จมาเป็นการส่วนพระองค์ เป็นงานแต่งงานที่หรูหรา ระหว่างเจ้าชายอินเดียและราชนิกูลของไทยอันเต็มไปด้วยความสุข

     ภาพจาก https://www.dailynews.co.th/foreign/350594

    ที่สุด ทั้งสองมีบุตรธิดา 2 คนคือ ลลิตยา รังสิต (ราชกุมารี ลลิตยากุมารี สิงห์ แห่งแคว้นชัยปุระ) และเทพราช รังสิต (ราชกุมาร เทพราช สิงห์ แห่งแคว้นชัยปุระ) แต่ภายหลังในปี พ.ศ. 2530 ได้หย่าร้างกัน จึงเดินทางกลับมาอยู่เมืองไทยพร้อมกับบุตรธิดา

    ทั้งนี้ข้อมูลจาก คอลัมน์ ดารณี สุนทรนนท์ ได้เขียนเรื่องราวของ มรว.ปรียนันทนา รังสิต ไว้ว่า ม.ร.ว.ปรียนันทนา รังสิต ใช้ชีวิตคู่กับ มหาราชจกัต ซิงห์ บุตรมหาราชา และ ราชมาตาแห่งชัยปุระ เมืองหลวงแห่งแคว้นราชะสถาน ประเทศอินเดีย เพียง 6 ปี ก็ต้องหย่าร้างกัน ด้วยเหตุผลที่ฝ่ายชายใช้ชีวิตอย่างเพลย์บอยโดยไม่รับผิดชอบครอบครัว

    ในคอลัมน์ดังกล่าวยังอ้างคำให้สัมภาษณ์ของ ม.ร.ว.ปรียนันทนา รังสิต ว่า "เหตุผลที่ทำให้ฉันตัดสินใจแต่งงานกับเขา อาจจะเป็นเพราะว่า ฉันเกิดไปหลงรักปราสาทที่ชัยปุระหลังนั้นก็ได้"        

    ขณะครองเรือนกับจกัต คุณหญิงบินไปมาระหว่างชัยปุระ กรุงเทพฯ และลอนดอน จนที่สุด ฉากความรักได้จบลงที่คุณหญิงขอหย่า โดยขออำนาจศาลไทย จนเมื่อกลับมาอยู่เมืองไทย จึงได้แต่งงานใหม่ กับ ปานศักดิ์ รังสิพราหมณกุล ผู้เป็นนักร้องและนักแต่งเพลงที่รู้จักกันในเพลง ไปทะเลกันดีกว่า

    กระทั่งมหาราช จกัต ซิงห์ สิ้นพระชนม์ ในปี 2540 จึงมีการเปิดพินัยกรรมที่ควรเป็นของทายาท 2 คน ที่อาศัยอยู่กับมารดาที่เมืองไทย แต่กลับตกเป็นของราชมาตาคยาตรี เทวี ผู้เป็นย่าของทั้งคู่ ก่อนจะนำมาสู่การติดตามทวงความเป็นธรรมในมรดกของ 2 พี่น้องลูกครึ่งไทย-ราชนิกูลอินเดียคู่นี้ และจบไปแล้วตามข้างต้นนั่นเอง

ชมคลิปที่เกี่ยวข้อง...

คลิปเปิดไม่ออก >>>>> กดตรงนี้ คลิ๊ก !!!! <<<<<

ข้อมูลและภาพจาก nationtv

บทความที่คุณอาจสนใจ